เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

หมดจด ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้น
จะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ดี มีสีสดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่สะอาด
แม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติ1ก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

อุปกิเลสแห่งจิต 16 ชนิด

[71] ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส2แห่งจิต อะไรบ้าง คือ
1. อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

2. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
3. โกธะ(ความโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
4. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
5. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
6. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
7. อิสสา(ความริษยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

เชิงอรรถ :
1 สุคติ มี 2 อย่าง คือ (1) ปฏิปัตติสุคติ หมายถึงคติ คือการปฏิบัติดีด้วยจิตบริสุทธิ์แบ่งเป็น 2 อย่าง ได้แก่
อาคาริยปฏิปัตติสุคติ มีจิตบริสุทธิ์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์บ้าง จากการลักทรัพย์บ้าง บำเพ็ญกุศลกรรมบถ
10 ให้บริบูรณ์ อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ คือสุคติของบรรพชิตผู้มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล 4 ให้บริสุทธิ์
สมาทานธุดงค์ 13 ข้อ เรียนกัมมัฏฐานในอารมณ์ 38 ประการ กระทำกสิณบริกรรม ทำฌาณสมาบัติให้
เกิดขึ้น เจริญโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค (2) คติสุคติ หมายถึงคติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นสุข
แบ่งเป็น 2 อย่าง ได้แก่ อาคาริยสุคติ คือสุคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีชาติตระกูลสูง
มั่งคั่งด้วยทรัพย์ เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศบ้าง เป็นเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่บ้าง และอนาคาริยสุคติ คือคติ
ของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้วไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ และตระกูลคหบดี หรือไปเกิดใน
กามาวจรเทวโลก 6 ชั้นบ้าง ในพรหมโลก 10 ชั้น ในสุทธาวาสภูมิ 5 ชั้น หรือในอรูปพรหม 4 ชั้นบ้าง
(ม.มู.อ. 1/70/180)
2 อุปกิเลส หมายถึงกิเลสที่จรมาด้วยอำนาจโลภะ โทสะ และโมหะ แล้วทำจิตเดิม(ภวังคจิต)ที่แม้ปกติก็
บริสุทธิ์อยู่แล้วให้ต้องเศร้าหมอง (ม.มู.อ. 1/71/181, อง.เอกก.อ. 1/49/53)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :63 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

8. มัจฉริยะ(ความตระหนี่) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
9. มายา(มารยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
10. สาเถยยะ(ความโอ้อวด) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
11. ถัมภะ(ความหัวดื้อ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
12. สารัมภะ(ความแข่งดี) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
13. มานะ(ความถือตัว) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
14. อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
15. มทะ(ความมัวเมา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
16. ปมาทะ(ความประมาท) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

[72] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า
'อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ ... 'อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ ... 'มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่ง
จิตได้ ... 'ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ...
'อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มัจฉริยะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มายา เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'สาเถยยะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'ถัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'สารัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'อติมานะ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :64 }